บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

พุทธศาสนาเป็นวิทยาศาสตร์


ผมได้กล่าวหา ด่า กระทบกระเทียบ เปรียบเปรยไปในบทความของผมในหลายๆ บทความว่า “พุทธวิชาการในเมืองไทยเชื่อวิทยาศาสตร์มากกว่าพระไตรปิฎก”

ถ้าจะเขียนกันให้หรูๆ ก็ว่า “พุทธวิชาการหันไปสมาทานองค์ความรู้ของวิทยาศาสตร์” จึงไม่เชื่อองค์ความในพระไตรปิฎกจำนวนมาก

โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องราวที่เกี่ยวกับอิทธิปาฏิหาริย์ เพราะ เรื่องอิทธิปาฏิหาริย์เหล่านั้น  ไม่สมเหตุสมผลในทางวิทยาศาสตร์ 

พุทธวิชาการหรือนักปริยัติกระทำเลยเถิดไปกว่านั้นอีกด้วยการเชื่อว่า “คนเราตายแล้วเกิดเพียงชาติเดียว” 

การตายแล้วเกิดเป็นอุบัติการณ์ทางธรรมชาติประการหนึ่ง  นรกไม่มี สวรรค์ไม่มี การเวียนว่ายตายเกิดไม่มี 

ท่านพุทธทาสภิกขุก็เป็นพุทธวิชาการ เป็นนักปริยัติคนหนึ่ง มีชื่อเสียงโด่งดังในช่วงท้ายๆ อายุของท่าน

ตอนนี้ก็ยังมีความโด่งดังอยู่บ้าง ที่ก็ริบหรี่ๆ ๆ ๆ ไปเรื่อยๆ แล้ว

แล้วก็คงจะ “ดับ” ลงไปแน่ๆ เมื่อผมเขียนบทความชุดนี้เสร็จ  คนจะมองพุทธทาสในอีกแบบหนึ่ง แบบที่ว่า “เกือบจะเสียชาติเกิดเสียแล้ว” ที่ได้เกิดมาชาติหนึ่ง อันลำบากลำบนจนแทบจะเอาตัวไม่รอด เกณฑ์มาตรฐานของธาตุธรรม

ที่ต้องพูดไปอย่างนั้น เพราะ ท่านพุทธทาสตายไปแล้ว “อยู่แค่สวรรค์ชั้น ๒” เท่านั้น 

ท่านพุทธทาสเขียนเรื่อง “พุทธศาสนาเป็นวิทยาศาสตร์” ไว้ในหนังสือ ธรรมานุกรมธรรมโฆษณ์ ฉบับประมวลธรรม เล่ม ๒ เรียบเรียงโดยนาย พินิจ รักทองหล่อ พิมพ์ ครั้งแรก พ.ศ. ๒๕๔๐ โดย ธรรมทานมูลนิธิ ดังนี้

เพื่อความสะดวกของผู้อ่านและความสะดวกในการเขียน ผมจะวิพากษ์วิจารณ์ข้อความไปทีละส่วน ตัวอักษรน้ำเงินคือ ข้อความของท่านพุทธทาส  ตัวอักษรสีดำคือข้อความที่วิพากษ์วิจารณ์

เมื่อพูดถึง วิทยาศาสตร์ บางคนก็ไม่สนใจ เห็นเป็นเรื่องของคนอีกพวกหนึ่งต่างหาก ไม่ใช่เรื่องของเรา,

อาตมาก็เห็นใจคนเหล่านี้; แต่ก็จะงดไม่พูดด้วยคำคำนี้ก็ไม่ได้ เพราะว่ามันกำลังมีปัญหาดังที่จะได้กล่าวให้ทราบต่อไป.

คำว่า วิทยาศาสตร์ นั้น เรายังเข้าใจกันอยู่แต่เพียงว่าเป็นเรื่องวัตถุ เป็นเรื่องโลกๆ เป็นเรื่องของใหม่ๆ เป็นของทำเทียม เป็นของทำปลอม อะไรขึ้นมาหลอกคน,

เข้าใจคำว่าวิทยาศาสตร์ ไปเสียอย่างนี้ แล้วมันก็จะ พูดกันไม่รู้เรื่อง.


ตรงนี้ต้องอธิบายเพิ่มเติมเสียนิดหน่อย เพื่อคนรุ่นใหม่อ่านแล้วจะไม่เข้าใจว่า ทำไมท่านพุทธทาสถึงกล่าวว่า

คนในยุคของท่าน เชื่อว่า “วิทยาศาสตร์” เป็นเรื่องของทำเทียม ทำปลอม

กล่าวคือ ในยุคที่ผ่านมา ซึ่งผมยังทัน และมีความรู้อยู่บ้างก็คือ ถ้าใครทำอะไรขึ้นมาใหม่ เพื่อเลียนแบบของที่มีอยู่แล้ว  คนไทยเราจะเรียกชื่อ “สิ่งนั้น” แล้วขยายความด้วยคำว่า “วิทยาศาสตร์

ยกความหมายในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานเลยดีกว่า คำว่า “ทองวิทยาศาสตร์” ราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายว่า “น. โลหะชุบทอง, ทองชุบ ก็เรียก.”

ดังนั้น ถ้าเจอคนเขาเรียกอะไรก็ตาม ตามด้วย “วิทยาศาสตร์” แล้วละก้อ อันนั้นเป็นของทำเลียนแบบขึ้นมา  เพชรวิทยาศาสตร์ก็เพชรปลอม  เป็นต้น

ที่จริงคำว่า วิทยาศาสตร์ นั้น ใช้เป็นคำเรียก สิ่งที่มีความจริง, และจริงชนิดที่ปรากฏเห็นๆ อยู่ และจริงชนิดที่พิสูจน์ได้ ทดลองได้

ไม่ต้องอาศัยการคำนึงคำนวณ, ไม่ต้องอาศัยความเชื่ออย่างงมงาย,ไม่ต้องอาศัย ความยึดมั่น อย่างละเมอเพ้อฝัน.

นี่เป็นหลักฐานชัดเจนที่ว่า ท่านพุทธทาสเชื่อว่า “วิทยาศาสตร์เป็นความจริง” เรื่องอื่นเช่น ไสยศาสตร์ ฮวงจุ้ย รวมถึงการเวียนว่ายตายเกิด นรก สวรรค์ เป็นเรื่องที่ “เชื่ออย่างงมงาย,เชื่ออย่างยึดมั่น เชื่ออย่างละเมอเพ้อฝัน”

อาตมาใช้ชื่อชุดการบรรยาย นี้ว่า ธรรมะในฐานะวิทยาศาสตร์ นี่ก็เพราะว่า มันเป็นความจริง ที่ธรรมะนั้น มันเป็นวิทยาศาสตร์,

เราไม่รู้ความจริงข้อนี้ ก็เลยไม่เข้าใจ ก็เกิดความชะงักงัน หรือยังเป็นหมัน ในการที่จะใช้ธรรมะ อย่างกะว่า เป็นวิทยาศาสตร์

ตรงนี้เห็นได้อย่างชัดเจน เป็นหลักฐานได้อย่างชัดเจนว่า ท่านพุทธทาสเชื่อวิทยาศาสตร์มากกว่าศาสนาพุทธ

ความเป็นจริงแล้ว งานเขียนของท่านพุทธทาสนั้น เปิดเผยอยู่เสมอว่า “ท่านเชื่อวิทยาศาสตร์” ตัวท่านเองไม่เคยปฏิเสธ

ที่มีเสียงปฏิเสธกันออกมาในยุคหลังๆ ว่า ท่านพุทธทาสไม่เชื่อวิทยาศาสตร์นั้น ก็เสียงจากสานุศิษย์ ประเภท “อาจารย์ข้าใครห้ามแตะ” ทั้งนั้น

การที่ท่านพุทธทาสมีชื่อเสียงโด่งดังขึ้นมา ทั้งๆ ที่ “ตีความ” พระไตรปิฎกจนฉิบหายป่นปี้ไปหมดนั้น ก็เป็นเพราะว่า ท่านไปตามกระแสของวิชาการ

เมื่อวิทยาศาสตร์เข้ามา ท่านก็ยอมรับ ยอมสมาทานวิทยาศาสตร์อย่างเต็มที่ ข้อเขียนของท่านจึงมีคนเห็นคล้อยตามมาก

พอเข้ามาในยุคนี้  ยุคที่วิทยาศาสตร์แบบนิวตันถูกพิสูจน์โดยวิทยาศาสตร์ใหม่หรือฟิสิกส์ใหม่ว่า “เป็นความจริงที่แคบมาก”  เป็นความจริงเฉพาะที่ ไม่ได้เป็นความจริงสากล

วิทยาศาสตร์ไม่ควรทำตัวเป็น “เกณฑ์มาตรฐาน” ในการพิพากษาองค์ความรู้อื่นๆ ว่า “จริง” หรือ “ไม่จริง

ศาสนาก็ศาสนา วิทยาศาสตร์ก็วิทยาศาสตร์ต่างก็เป็นองค์ความรู้หนึ่ง มีความจริงเป็นของตนเอง มีความจริงในฐานะขององค์ความรู้นั้นๆ

ดังนั้น พอเข้ามายุคนี้  คำสอนของท่านพุทธทาส มันจึงเข้าขั้น “เหลวไหล”, “มั่วนิ่ม”, “ไร้สาระ” เข้าไปเสียแล้ว ……




1 ความคิดเห็น:

  1. ผมต้องการเขียนบทความอย่างกับท่านต้องทำยังไงครับ

    ตอบลบ