บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

ธรรมะคือศาสนาพุทธ


ในบทความ “พุทธศาสนาเป็นวิทยาศาสตร์” ผมได้เกริ่นนำไปแล้วว่า “พุทธวิชาการในเมืองไทยเชื่อวิทยาศาสตร์มากกว่าพระไตรปิฎก ท่านพุทธทาสตายก็เป็นหนึ่งในนั้น อย่างเหนียวแน่นเสียด้วย

ผมได้ ชุดการบรรยายของท่านพุทธทาสชุด “ธรรมะในฐานะวิทยาศาสตร์” มาเป็นโจทย์ในการวิพากษ์วิจารณ์ไปส่วนหนึ่งแล้ว 

ในบทความนี้ ก็เนื้อหาของการวิพากษ์วิจารณ์ต่อไปข้างหน้า

สิ่งซึ่งมิใช่วิทยาศาสตร์ นั้น มีอีกมากมาย ที่เขาพอใจ หลงใหลกันนัก ในสมัยนี้ ก็คือ สิ่งที่เรียกว่า ปรัชญา, คล้ายกับว่า โลกสมัยนี้ เป็นโลกที่ เห่อปรัชญา, การเห่อปรัชญา ก็จะเป็นโรคระบาดเต็มโลก; อาตมาก็ต้อง ป้องกันตัว ไว้เสียก่อน คือป้องกันตัวของพระพุทธศาสนา หรือป้องกันตัวให้แก่พระพุทธศาสนาว่าอย่าให้ โรคเห่อปรัชญา มาครอบงำเอาพระพุทธศาสนา,

จากการอ่านข้อความของท่านพุทธทาสตอนนี้ แสดงว่าในยุคนั้น ในวงการศาสนา พวกเชื่อวิทยาศาสตร์กับพวกเชื่อปรัชญาน่าจะ “ยกพวกตีกัน” ในทางวิชาการ

น่าจะคล้ายกับตอนนี้ ที่พวก “นิพพานเป็นนิจจัง สุขัง อัตตา” ก็ยกพวกตีกันกับพวก “นิพพานเป็นอนัตตา” 

ตรงนี้ขอบอกเสียเลยว่า “พวกนิพพานเป็นอนัตตา” แพ้ราบคาบแบบหมอไม่รับชัณสูตรศพ เนื่องจาก พระพรหมคุณาภรณ์-พระธรรมปิฎก-พระประยุทธ์-พระเปลืองข้าวสุกประชาชนยอมรับมาแล้วว่า “ไม่รู้ว่านิพพานเป็นอนัตตาอย่างไร” เนื่องจากท่านยังไม่ได้ศึกษาเลย

บวชมาจะแก่ตายอยู่แล้ว วิพากษ์วิจารณ์โจมตีพวกที่เชื่อว่า “นิพพานเป็นนิจจัง สุขัง อัตตา” มาตลอดชีวิตของท่าน  เมื่อท่านมาสารภาพว่า “ไม่รู้ว่านิพพานเป็นอนัตตาอย่างไร”ก็จบข่าว

พวกที่ยอมรับนับถือ พวกสานุศิษย์ทั้งหลายก็คอตก เก็บเสื้อผ้ายัดใส่กระเป๋ากันไปหมด ไอ้พวกที่ยังมาเถียงกับคนอื่นเขา ก็เพราะไม่รู้ว่า พระพรหมคุณาภรณ์-พระธรรมปิฎก-พระประยุทธ์-พระเปลืองข้าวสุกประชาชนยอมรับอย่างนั้นแล้ว

กลับมาเข้าเรื่องดีกว่า สงสัยจะเพาะศัตรูมากไปเสียแล้ว

ผมขอฟันธงไปก่อนเลยว่า “ท่านพุทธทาสนั้น เชื่อปรัชญาด้วย”  เชื่อพอๆ กับวิทยาศาสตร์ ท่านจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม

ตรงนี้อาจจะมีเงื่อนประเด็นของ “เวลา” เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งผมไม่มีเวลาที่จะไปศึกษาในตอนนี้

หมายความว่า ช่วงที่บรรยายชุดนี้ ท่านพุทธทาสอาจจะยังไม่เชื่อปรัชญา แต่ข้อเขียนของท่านนั้น พิสูจน์ได้ว่า ท่านก็ “สมาทาน” ปรัชญาเท่าๆ กับวิทยาศาสตร์ เพราะมีหลักฐานในงานเขียนของท่านอย่างมากมาย

ให้พุทธศาสนาสามารถจะแยกตัวออกมาอยู่ในรูปของวิทยาศาสตร์ สำหรับจะได้เรียนกันอย่างเรียนวิทยาศาสตร์, สำหรับจะได้ปฏิบัติกัน อย่างปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ จึงได้พยายามชี้ให้เห็นว่าธรรมะในฐานะวิทยาศาสตร์.

ข้อความในส่วนนี้ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า “ท่านพุทธทาสเชื่อวิทยาศาสตร์อย่างสุดจิตสุดใจ” แบบที่ว่าลูกศิษย์ไม่ต้องมาเถียงแทน

ผมสันนิษฐานว่า ในยุคนั้น ศาสนาพุทธคงจะเริ่มได้รับการ “มอง” แบบปรัชญา จึงมีคำว่า “พุทธปรัชญา”, “ปรัชญาเชิงพุทธ” เพราะ จริงๆ แล้ว นักปรัชญาเขาเห็นว่า “ศาสนาเป็นปรัชญาอย่างหนึ่ง

ท่านพุทธทาสคงไม่ชอบใจในตอนนั้น  แต่ในตอนหลังๆ ท่านพุทธทาสก็หันไปเชื่อปรัชญาเช่นเดียวกัน และอาจจะเชื่อมากกว่าวิทยาศาสตร์เสียด้วย เพราะ วิทยาศาสตร์ก็แตกสาขาออกมาจากปรัชญา

ทีนี้ ก็จะทำความเข้าใจให้ชัดลงไปอีกว่า คำว่า ธรรม ในที่นี้คืออะไร คำว่า ธรรมในที่นี้ ก็คือ คำที่เราใช้เป็นชื่อของสิ่งที่เรามักเรียกกันว่า ศาสนา, ซึ่งข้อนี้ก็เคยพูดมามาก แล้วว่าในสมัยโบราณ โดยเฉพาะครั้งพุทธกาล นั้นเขาใช้คำว่า ธรรมเรียกชื่อ สิ่งที่เราเรียกกันในปัจจุบันนี้ว่า ศาสนา,

ในยุคที่ท่านพุทธทาสบรรยายชุด “ธรรมะในฐานะวิทยาศาสตร์” อยู่นี้ ท่านพุทธทาสเห็นว่า “ศาสนาพุทธคือธรรมะ” เลย

ในความเห็นของผมนั้น ผมว่าพุทธทาสตีความคำว่า “ธรรมะ” กว้างเกินไป  คำว่า “ธรรมะ” นั้น เป็นส่วนหนึ่งของศาสนาพุทธ  ไม่ใช่ว่า ศาสนาพุทธทั้งเนื้อทั้งตัวคือ “ธรรมะ”  อย่างนี้ตีความกว้างเกินไปมาก

เช่น ปัจจุบันนี้ถามกันว่า ท่านถือศาสนาอะไร? ในครั้งกระโน้น เขาจะถามกันว่า ท่านถือธรรมะอะไร, ธรรมะข้อไหน, ธรรมะของใคร? ฉะนั้นตัวศาสนาก็คือตัวธรรมนั่นเอง,

ข้อความนี้ ไม่ต้องวิพากษ์วิจารณ์เพราะชัดเจนอยู่แล้ว  ท่านพุทธทาสเขียนซ้ำๆ อย่างนี้ เพื่อแสดงความเชื่อของท่านอย่างเต็มที่

และการที่เอามาพูดในวันนี้คำว่าธรรม ในที่นี้ก็หมายถึง ระบบของพระพุทธศาสนา, พุทธศาสนาทั้งระบบ เราเอามาเรียกด้วยชื่อสั้นๆ ว่า ธรรมหรือธรรมะ, แล้วอยากจะให้รู้จัก สิ่งที่เรียกว่า ธรรม หรือ ธรรมะนี่แหละ ว่ามันเป็นเรื่องวิทยาศาสตร์, มันไม่ใช่เรื่องปรัชญา.

ถ้าจะให้วิพากษ์วิจารณ์ “วิธีการ” พูดหรือเขียนนั้น  ผมว่าท่านพุทธทาสทำได้ดีเลยทีเดียว มีกาเรียงลำดับของเนื้อเรื่อง มีการซ้ำความ เพื่อเน้นความคิดที่ต้องการเสนอให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

แต่การที่ท่าน “เห็นผิด”, “คิดผิด” ไปก่อนเสียแล้ว ข้อเขียนของท่านจึงออกไปทำนอง “ไร้สาระ” ที่ต้องนำไปถมที่เสียจะได้ประโยชน์สูงสุด

ถ้าถามผมว่า “เกณฑ์ในการตัดสินของผมคืออะไร

ผมก็ขอตอบว่า “เมื่อตายแล้ว ท่านไปอยู่ที่ไหน
เมื่อท่านพุทธทาสมรณภาพไปแล้ว  ท่านไปได้แค่ “สวรรค์ชั้น ๒”  ผมถึงกล้าพูดว่า ข้อเขียนของท่านนั้นไร้สาระ

ตัวท่านเขียนออกมานั้น ท่านรู้ ท่านเข้าใจของท่าน ท่านจึงไปสวรรค์ชั้น ๒ พวกสาวกของท่าน เนื่องจากอ่านตาม รู้บ้างก็รู้ไม่ตลอด แล้วก็สอนออกไป

บางท่านถึงขนาด เอาศีลออกไปทั้งเยอะ เหลือประมาณ 150 ข้อเท่านั้น  อย่างนี้ตายไปแล้ว ไปโน่นเลย “อบายภูมิ”....



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น